วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่โปรตอลต้องกำหนด

โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลยการที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กัน และเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การเชื่อมต่อมีความแตกต่างระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตรฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่อจึงได้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organization และทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและเป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ สามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ ( layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด

ความหมายของโปรตอล


โปรโตคอล (Protocol)
ความหมายของโปรโตคอล

โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยก


ต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลย
การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กัน และเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การเชื่อมต่อมีความแตกต่างระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตรฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่ จึงได้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organization และทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและเป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ สามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือ


ข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ ( layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด

















วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย




ฃส่วนประกอบของระบบเครือข่าย LAN
สำหรับส่วนประกอบของระบบเครือข่าย LAN มีดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วน คือ เซิฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสาร
1.1 เซิฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย ทำหน้าที่ให้บริการผู้ใช้ระบบเครือข่ายเซิฟเวอร์มีทรัพยากรสำหรับ ให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ร้องขอ เซิฟเวอร์ที่ใช้กันมากที่สุดคือ เซฟเวอร์ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการจัดส่งแฟ้มแก่ผู้ใช้ แฟ้มนี้อาจเป็นแฟ้มที่บันทึกเก็บข้อมูล หรือเป็นแฟ้มบรรจุซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็ได้ระบบเครือข่าย LAN จะมีไฟล์เซิฟเวอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ไฟล์เซิฟเวอร์มักเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดดิสก์ความจุสูง ซึ่งคอมพิวเตอร์นี้อาจเป็นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็ได้ ถ้าเป็นประเภทหลังมักนิยมใช้ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นที่มีความเร็วสูง ระบบเครือข่าย LAN ที่อาศัยไฟล์เซิฟเวอร์ให้บริการ แฟ้มข้อมูล ตลอดเวลาจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเป็นพิเศษสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ (dedicated file server ) แต่ในระบบเครือข่าย Lan ขนาดเล็กที่ผู้ใช้แต่ละคนมีความเสมอภาคกัน (Peer-to-Peer Network) ไม่ต้องมีไฟล์เซอร์เวอร์เพราะ คอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่อง ในระบบเป็นทั้งผู้ใช้และไฟล์เซิฟเวอร์ในเวลาเดียวกัน เซิฟเวอร์แบบอื่น ๆ ในระบบเครือข่าย LANยังมีอีก และเรียกตาม ลักษณะของ ทรัพยากรที่เซิฟเวอร์นั้นให้บริการ เช่น Print server ให้บริการการพิมพ์ database server ให้บริการด้านฐานข้อมูล
1.2 คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย LAN จะใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ กับงานประยุกต์ที่ส่งมา ให้จากไฟล์เซิฟเวอร์ โดยเป็นเครื่องที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้ผู้ใช้โดยตรง ส่วนไฟล์เซิฟเวอร์เพียงส่งแฟ้มข้อมูลมาให้เท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่ใช้ database server ซึ่งเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูลแล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ส่งไปทั้งแฟ้ม ระบบนี้เรียกว่าเป็นระบบเครือข่าย client server เมื่อไฟล์เซิฟเวอร์ส่งงานประยุกต์ให้กับคอมพิวเตอร์แล้ว โปรแกรม ประยุกต์นั้นจะเริ่มดำเนินการได้ ในระหว่างนั้นหากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการพิมพ์ผลลัพธ์ก็กระทำได้โดย สั่งพิมพ์ผลลัพธ์ ทาง เครื่อง พิมพ์ที่เชื่อมต่กับไฟล์เซิฟเวอร์หรือพิมพิทางเครื่องที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ก็ได้ ในกรณี แฟ้มข้อมูล ที่สร้างขึ้น ระหว่าง การดำเนินงานนั้น ผู้ใช้อาจบันทึกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ หรืออาจส่งไปบันทึก เก็บไว้ในไฟล์เซิฟเวอร์ได้ ในกรณีหลัง ผู้ใช้ราย อื่นอาจขอใช้แฟ้มนั้น ได้ด้วยระบบเครือข่าย LAN บางระบบนิยมใช้ชนิดไม่มีฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการ ปฏิบัติงานแต่ระบบแบบนี้อาจมีปัญหาเวลาไฟล์เซิฟเวอร์เสียหายคอมพิวเตอร์ที่เหลืออยู่จะทำงานไม่สะดวก
1.3 ระบบสื่อสาร การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วยบุคคลมาพ่วงต่อกันเป็นระบบเครือข่าย LAN นั้นจำเป็นจะ ต้องอาศัยสายเคเบิล และแผ่นวงจรที่เรียกว่า network interface card (NIC) โดยจะต้องนำแผ่นวงจรนี้ไปติดตั้ง ในเซิฟเวอร์และ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย แผ่นวงจร NIC จะทำหน้าที่คล้ายควบคุมดูแลการ ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วย ความเร็วสูง ความเร็วในการสื่อสารนั้นอยู่กับประเภทของตัวกลางสื่อสารขีดความสามารถของแผ่นวงจร NIC และตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เองความเร็วทั่วไปของการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย LAN อยู่ระหว่าง1 ถึง 16 เมกะบิตต่อวินาที
2. ซอฟแวร์ซอฟแวร์ที่ใช้กับระบบเครือข่าย Lan มี 2 ประเภทคือ
2.1 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (network operating system) เป็นซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่ทำการปฏิบัติงานของ ไฟล์เซิฟเวอร์ และช่วยให้การใช้ระบบเครือข่ายง่ายขึ้น ช่วยในการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยของระบบเครือข่าย เป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้บริหารที่จะใช้ควบคุมระบบเครือข่ายของผู้ใช้ ควบคุมการสร้างแฟ้มข้อมูล และจัดการกับจานแม่เหล็กด้วย นอกจานั้นยังควบคุมการใช้แฟ้มข้อมูลของผู้ใช้แต่ละรายให้เป็นไปตามข้อกำหนด
2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์ ได้แก่ซอฟแวร์สำหรับใช้ดำเนินการต่าง ๆ ตามความต้องการของ ผู้ใช้ซอฟแวร์เหล่านี้ควรเป็น รุ่นที่ผลิตมาสำหรับใช้ระบบเครือข่าย


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Active Directory
ความหมายของ Windows 2000 Active Directory
เป็นบริการหนึ่งของ Windows 2000 Server ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับไดเรกทอรีของระบบเครือข่าย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. Active Directory Service หน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้และผู้บริหารระบบ
2. Active Directory Database เป็นฐานข้อมูลสำหรับเก็บไดเรกทอรีต่าง ๆ เช่น User Account/Group Account, Shared folder Object, Organizational Unit (OU) ,System Configuration ,Group Policy Object (GPO)

ลักษณะโครงสร้างของ Active Directory Database
ทรัพยากรต่าง ๆ เสมือนออบเจ็กต์หนึ่งที่มีชื่อและคุณสมบัติ จัดเก็บ Object ต่าง ๆ ตามโครงสร้างลำดับชั้น โดยมี OU เสือนโฟลเดอร์ในการเก็บ Object ต่าง ๆ โครงสร้างภายในเป็นโครงสร้างเชิงลอจิคอล ทุกอย่างเป็นอิสระต่อกัน สามารถเก็บ Object มากกว่า 2 ล้านออบเจ็กต์ ออบเจ็กต์ คลาส และแอตตริบิวต์
object รายชื่อทรัพยากรทุกอย่างที่อยู่ใน Active Directory Database มองเสมือนเป็น Object
class คือตัวแบ่งประเภทของออบเจ็กต์
attributes ตัวบอกคุณลักษณะ คุณสมบัติ และพฤติกรรมต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ ออบเจ็กต์ที่อยู่ใน class เดียวกัน จะมี attributes เหมือนกัน
schema เป็นฐานข้อมูลย่อยที่เก็บอยู่ใน active directory database หน้าที่เก็บรวบรวมข้อกำหนดเกี่ยวกับ class ของออบเจ็กต์ทุก class และยังสามารถเพิ่ม attributes ใหม่ให้ class เดิมได้ด้วย
โดเมน (Domain)
คือ กลุ่มของทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย เช่น แชร์โฟลเดอร์ เครืองคอมพิวเตอร์
โหมดของโดเมน
Mixed Mode เป็นโดเมนที่ถูกสร้างหลังติดตั้ง Active Directory เพื่อให้สื่อสารกับ BDC ของ NT 4.0 ได้
Native Mode Mixed Mode ----- > Native Mode เพื่อสิ่งที่ดีกว่า เช่น การจัดรายชื่อกลุ่มซ้อนกลุ่ม(Group Nesting) , การประยุกต์ใช้รายชื่อกลุ่มพิเศษชื่อ Universal Group


การใช้งานระบบเครือข่ายนั้นประกอบด้วย จุดต่อ (Node) สำคัญ 2 ประเภท คือ แบบคอมพิวติงโหนด หรือจุดต่อ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และแบบสวิตชิงโหนด หรือจุดต่อที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านสวิตชิงโหนดและคอมพิวติงโหนดต่างๆ ไปถึงผู้รับ เมื่อผู้รับทำงานเสร็จก็จะส่งข้อมูลผ่านสวิตชิงโหนดต่างๆ กลับมายังผู้ส่ง
ส่วนประกอบของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามหน้าที่ของโหนด คือ
1. เครือข่ายส่วนย่อยของผู้ใช้ (User Subnetwork) ประกอบด้วยโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และ เทอร์มินัลคอนโทรลเลอร์ (Terminal Controller) หรือส่วนควบคุมปลายทาง ซึ่งในการทำงานระบบนี้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้ามาก เพราะต้องรอการประมวลผลจากศูนย์กลางในการใช้งาน ทำให้ปัจจุบันมีระบบที่เรียกว่า ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ขึ้นมาใช้งานแทน โดยที่มีการทำงานแบบกระจายคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เครื่องบริการ (Server) ให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูล (File Server) , บริการพิมพ์งาน (Printing Server) เป็นต้น


ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องรับบริการ (Client) จะมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของตนเอง (จะมีฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ด้วยก็ได้) เครื่องไคลเอนต์จะส่งคำของานไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แล้วนำมาเก็บไว้ในซีพียูของตนเอง แล้วทำการประมวลผล จากนั้นก็ส่งกลับไปยังแม่ข่าย ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น



2. เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnetwork) เป็นการติดต่อสื่อสารกันผ่านสายส่ง เพื่อส่งสารข้อมูลจากต้นทางไปถึงปลายทาง โดยผ่านทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
ซึ่งจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณที่ผ่านสายโทรศัพท์ได้ โหนดที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานกับเครื่องย่อยของผู้ใช้ และทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจากต้นทางไปยังปลายทางเราเรียกว่า เร้าเตอร์ (Routers)
ระบบเครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบจุดต่อจุด (Point to Point Channels) และ แบบแพร่กระจายข้อมูล (Broadcast Channels)






ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่ายแต่ละแบบ

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายแบบ LAN MAN และ WAN มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีระยะห่างจากจุดต่อจุดจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 2
กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร
2. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความเร็วระหว่าง 1–100 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่ระบบเครือข่ายแบบ MAN จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที
3. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีอัตราข้อผิดพลาดต่ำกว่าระบบเครือข่ายแบบ WAN ทั้งนี้เนื่องจากมีระยะทางในการใช้งานไม่กว้างนัก ทำให้โอกาสที่จะถูกรบกวนสัญญาณมีน้อยกว่า
4. ระบบเครือข่ายแบบ LAN จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียว แต่ระบบ เครือข่ายแบบ WAN จะมีเครือข่ายการใช้งานทั่วโลก ดังนั้นการใช้งานจะขึ้นอยู่กับการควบคุมขององค์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย


ข้อเปรียบเทียบระหว่างเครือข่าย ATM เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย LAN- เครือข่าย LANเครือข่าย Local Area Network หรือเครือข่าย LAN มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบ connectionless ระบบ LAN ที่ใช้กันส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานของ IEEE 802 ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ประกอบด้วย Ethernet ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 10Mbps และ Token Ring ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 4 Mbps หรือ 16 Mbps มีโพรโตคอล IEEE 802 เป็นตัวกำหนด data link layer และ physical layer ใน OSI Reference Model โดยในส่วนของ data link layer จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วน MAC (Medium Access Control) และ LLC (Logical Link Control) ส่วน MAC layer จะเป็นตัวกำหนดการเข้าถึงข้อมูลการแบ่งใช้งาน (share) อุปกรณ์ร่วมกันและการเชื่อมต่อสื่อสารกันส่วน LLC layer จะช่วยในเรื่องการอินเทอร์เฟซระหว่างโปรโตคอลใน Network layer กับ โปรโตคอลต่าง ๆ ใน MAC layer หลักการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย LAN นั้นจะใช้ MAC address จะเป็นตัวกำหนดที่อยู่ต้นทางและ ปลายทางของเฟรม โดยในการกำหนด MAC address ของส่วนปลายทางนั้น เครื่องเซร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่ง broadcast packet ไปยังเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เพื่อถามถึง MAC address ของเครื่องปลายทางเมื่อเครื่อง ปลายทางแจ้ง MAC address ตอบเครื่องต้นทางกลับมาก็จะเป็นการเริ่มการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและ ปลายทางตัว Address resolution ซึ่งใช้วิธีการของ broadcast packet และการส่งถ่ายข้อมูลแบบ fast connectionless ทำให้เครือข่าย LAN ใรปนะวิมธิภาพดีสำหรับรูปแบบ teaffic ที่ไม่แน่นอน (Randomly Spaced Traffic patterns) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ทรัพยากรร่วมกันเช่นนี้ทำให้เกิดข้อเสียคือ เครื่องลูกข่ายไม่สามารถได้รับการประกันคุณภาพการส่งว่าจะได้รับ bandwidth เท่าไร ในการส่งแต่ละครั้ง- เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Networks) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครือข่าย LAN เพียงแต่ว่าเครือข่าย LAN ที่ใช้มักจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ Netware ที่ใช้มาตรฐานโพรโตคอล IPX แต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้มาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP เป็นโครงสร้างหลักของซอฟต์แวร์ต่าง ๆระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารกัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการต่อเชื่อมโยงข้ามประเทศทั่วโลกต่างจากระบบ LAN ที่จะต่อเชื่อมเฉพาะในขอบเขตบริเวณหนึ่ง ๆ เช่น เพียงชั้นเดียวของอาคารหนึ่งหรือในเขตบริษัทหนึ่ง ๆ เท่านั้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าายที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้โพรโตคอล IP (Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้หลายสิบล้านคนและมีเครื่อง คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่โยงใยข้ามประเทศแทบทุกทวีปทั่วโลก IP เป็นโพรโตคอลบนชั้น Network Layer ที่จะส่งข้อมูลระหว่างจุดต้นทางและปลายทางแบบ Connectionless ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบที่ไม่มีการรับประกัน การส่งแพ็คเก็ตระหว่างต้นทางและปลายทาง ในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนั้น IP datagram ที่ถูกส่งไปจาก host หนึ่งสามารถที่จะไปถึง host ปลายทางเดียวกันได้โดยใช้เส้นทางต่างกัน เส้นทางที่ IP datagram เดินทางไป นั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายและจะถูกควบคุมโดย router ซึ่งจะเป็นตัวเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดให้ datagram เดินทางไปโดยวิเคราะห์จากสถานภาพของ link ที่เชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันว่ามีระดับ congestion มากน้อยเพียงใด จากความไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพทำงานของ IP นี้เองทำให้ IP เป็นโพรโตคอลที่เป็นมาตรฐาน ทั่วโลกและใช้กันแพร่หลายมาก มีแอปพลิเคชั่นสนับสนุนอยู่มากมายที่สนับสนุนการทำงานของ IP เช่น Gopher, www (world-wide-web ใช้ http Protoclo), ftp (File Transfer Protocol) และ SMTP (Simple Mail Transfer Protoclo)- เครือข่าย ATM จะช่วยให้ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นมากเนื่องจากมีความเร็วในการสวิตซ์ข้อมูลสูงมากนั่น เอง ลักษณะของเครือข่าย ATM ก็เป็นสายไฟเบอร์ (Fiber Optic Cable) หรือสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 155 Mbps ขึ้นไป และจะมีอุปกรณ์หลายทาง ซึ่งอาจเป็น PC ซึ่งมี Ethernet Card อีกทีนั่นเอง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ทางการสื่อสาร เช่น ตู้สายโทรศัพท์ PAPX ซึ่งมี ATM Interface หรือระบบ Video Conference ก็ได้ กล่าวคืออุปกรณ์สือสารและคอมพิวเตอร์เกือบทุกอย่าง สามารถเชื่อมต่อกับ ATM Interface ที่ตรงตามมาตรฐานนั่นเอง แต่เนื่องจาก ATM ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อเข้ากับสวิตซ์ ATM และส่งข้อมูลโดยใช้ ATM โดยตรงเลยนั้นจึงยังมีไม่มากนักและมีราคาแพงอยู่ จึงได้มีการคิดค้นระบบ IP over ATM และ LAN Emulation ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ บนเครื่องข่ายเดิมซึ่งใช้แอปพลิเคชั่น บน IP และ Ethernet ธรรมดาบนเครือข่าย ATM ได้ หรือเป็นการจำลองเครือข่าย IP และ Ethernet ขึ้นบนเครือข่าย ATM นั่นเอง ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนต่อไป

ความสัมพันธ์ของLANกับWAN

ความสัมพันธ์ระหว่าง Lan และ Wan
Lan หรือ Local Area Network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือใช้เชื่อมต่อกัน ในบริเวณที่ไม่ห่างจากกันมากนัก โดยการ เชื่อมต่อนี้ทำได้โดย สายสัญญาณพิเศษ ในสถาน ที่หนึ่ง ๆ หรือองค์กรหนึ่ง ๆ สามารถที่จะสร้างระบบ Lan หลาย ๆ ชุดได้หรือเชื่อม ระบบ Lan แต่ละชุดที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันอีกทีก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้ง การ์ด เน็ตเวิร์คหรือ เรียกย่อ ๆ ว่า Card lan สื่อสัญญาณซึ่งอาจ เป็นสายเคเบิล แบบใดแบหนึ่ง ระบบปฏิบัติ การควบคุมเครือข่าย เช่น Novell Banyan VINEs Windows NT Server เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงใยกันในระบบเครือข่าย LAN จะต้อง มีส่วน ประกอบ ที่สำคัญ คือ การ์ด Lan หรือ Network Interface Card (NIC) อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้ในเครือข่ายเสมือนกับที่โมเด็มเป็นอุปกรณ์ช่วย ให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ติดต่อส่งข้อมูลผ่านสาย โทรศัพท์ได้ ที่แตกต่างกันคือ การ์ด Land นี้เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 10 หรือ 100 เมกะบิตต่อวินาที เร็วกว่าที่ส่งผ่านโมเด็มประมาณ 500 - 2-3 พันเท่า โดยมีสัญญาณ แบบพิเศษเป็นตัวกลางสายดังกล่าว เช่น Coaxial (สาย Lan ที่เห็นเป็นสีดำ) สาย Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสง สาย Unshield Twisted Pair (UTP) คล้าย ๆ โทรศัพท์ธรรมดา แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นต้น การ์ด Lan แต่ละการ์ดที่ออกจาก โรงงานจะต้อง มีหมายเลข อ้างอิงโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน เพื่อใช้อ้างถึงระหว่างเครื่อคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ด้วย กันเป็น เครือข่ายให้ สามารถติดต่อกันได ้
ในกรณีที่มีระบบเครือข่าย Lan ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปที่อยู่ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่ใน บริเวณเดียวกัน หรือมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือ ข่ายที่อยู่ไกล มาก จำเป็นต้อง ใช้อุปกรณ์และ บริการพิเศษเพื่อช่วยในการเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครือข่ายระยะ ไกลหรือ เครือข่ายแบบ Wan หรือ Wide Area Network ในการเชื่อมกัน นี้สามารถ ทำได้หลายวิธี เช่น เชื่อมผ่าน สาย ที่เช่ามาเป็นพิเศษ (Leased Line ) จากองค์การโทรศัพท์ เชื่อมผ่าน ระบบไมโครเวฟ เชื่อมผ่านเครือข่ายบริการ ISDN ของการสื่อสาร ฯ หรือแม้แต่ ผ่านดาวเทียม เป็นต้น อุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยเชื่อม LAN เข้าด้วยกันให้กลายเป็น Wan นี้เรียกว่าประตูเชื่อมต่อ หรือ Gateway ซึ่งจะทำให้ระบบ เครือข่ายขยายตัวได้อย่างไม่สิ้นสุด
จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเดี่ยว ๆ หลายเครื่องถูกเชื่อมต่อกันกลายเป็น เครือข่าย Lan เมื่อมีเครือข่าย Lan หลาย ๆ ระบบแยกกัน ก็ถูกเชื่อมโยงกันกลายเป็นเครือข่ายแบบ Wan โดยหลักการแล้วเครือข่าย Wan จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนคือ
ส่วนแรก ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อม Lan เข้าด้วยกัน เช่น Bridge หรือ Router
ส่วนที่สอง คืออุปกรณ์ช่วยในการต่อเข้าสู่เครือข่าย Wan เป็นตัว Gateway เช่น โมเด็มในกรณีใช้บริการผ่านบริการผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์หรือ Terminal Adapter ในกรณีใช้บริการ ISDN
ส่วนที่สาม ได้แก่ สื่อสัญญาณหรือ Media เช่น สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ฯลฯ
ส่วนที่สี่ คือ ส่วนของการบริการ Wan หมายถึง เครือข่ายของผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ เช่น องค์กรโทรศัพย์ หรือการสื่อสาร (รวมทั้งผู้รับสัมปทานจากจากทั้งสองหน่วยงาน เช่น DataNet เป็นต้น เช่น บริการเช่าพิเศษแบบที่ต่อจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบชุมสายโทรศัพท์ธรรมดา (Point to Point) เช่น Leased Line หรือ T1. บริการที่ผ่าน ระบบชุมสาย (Circuit Swith) เช่น บริการโทรศัพท์หรือบริการ ISDN, บริการที่ต้องจัดส่งข้อมูลให้เป็นแบบส่วน ๆ (Packet) โดยคิดเงินตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (Packet Swith) เช่น บริการ X.25 หรือบริการ Frame Relay
จากนั้นเครือข่าย Wan หนึ่งก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Wan ในอีกที่หนึ่งหรืออีก ประเภท หนึ่งได้ ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นไป ในลักษณะ Internetworking ขยายครอบคลุมกว้าง ขึ้นไป เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหลักการที่กลาย มาเป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในที่สุด
การเชื่อมโยงในลักษณะดังกล่าวระหว่างระบบที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตร ฐาน ในกา รติดต่อ กัน หรือเรียกว่าต้องมีระเบียบ วิธีการสื่อความหมายกัน ซึ่งเรียกเป็นศัพท์เฉพาะ ว่าโปรโตคอล (Potocol) มิฉะนั้นเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกัน ก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบ ว่า มีใคร ติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนด วิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต มีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ มาตรฐานในการติดต่อ กันใครต้องการไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบ ว่า มีใคร ติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนด วิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต มีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ มาตรฐานในการติดต่อ กันใครต้องการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย อินเตอร์เนตก็ต้องไปคุยกันแบบTCP/IP ปัจจุบันนี้ในเครือข่ายอินเตอร์เนตมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อยู่หลายล้านเครื่องและมีผู้ใช้งาน หลายสิบล้านคน โดยทั้งจำนวน เครื่องและจำนวน คนต่างก็พุ่งทะยาน ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน


ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า
ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อและเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรต (Infared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น ฉะนั้น ระบบเครือข่าย Network คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาต่อเชื่อมกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ในการแบ่งชนิดของระบบเครือข่าย (Network) นั้นจะแบ่งระบบเครือข่าย (Network) เป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ1.ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)2.ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)3. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ Man)
ระบบเครือข่าย LAN และ WAN
ความหมายของระบบ LANย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ที่ต้องประกอบด้วย Server และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้โดยที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร และในส่วนของ Server เองจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้างหน่วยความจำได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมด จึงมีการแบ่งแยกเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เรียกว่า LAN (Local Area Network) และการเชื่อมโยงระยะไกล ที่เรียกว่า WAN (Wide Area Network) เครือข่าย LAN เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน สามารถดูแลได้เอง การเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบดังนี้
1. เครือข่าย LAN แบบอีเทอร์เน็ต มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 Mbps. มีพื้นฐานรูปแบบการเชื่อมโยงร่วมกันแบบบัส คือ ทุกอุปกรณ์จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว ดังนั้นการรับส่งต้องมีการจัดการไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ ขบวนการรับส่งข้อมูลจึงถูกกำหนดขึ้น โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่ การหลีกเลี่ยงการชนกันจึงกระทำได้ในเครือข่ายระยะใกล้
2. เครือข่าย LAN แบบโทเก็นริง มีความเร็ว 16 Mbps. เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดย แพ็กเก็ตข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่ง ถ้ามีแอดเดรสปลายทางเป็นของใคร อุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไป การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ
เครือข่าย LAN ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากัน แต่ทุกตัวจะมีแอดเดรสประจำ และแอดเดรสเหล่านี้จะซ้ำกันไม่ได้ โดยปกติผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายได้กำหนดแอดเดรสเหล่านี้มาให้แล้ว เพื่อจะให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างมาตรฐานกันได้นั้น มีวิธีการพัฒนาให้ระบบสามารถนำแพ็กเก็ต เฉพาะของเครือข่ายมาใส่ในแพ็กเก็ตกลางที่เชื่อมโยงระหว่างกันได้ เช่น TCP/IP ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเชื่อมเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน เครือข่ายอีเทอร์เน็ตมีแพ็กเก็ตเฉพาะเมื่อจะส่งออก ก็นำแพ็กเก็ตเฉพาะมาเปลี่ยนถ่ายลงในแพ็กเก็ต TCP/IP แล้วส่งต่อ.. แพ็กเก็ต TCP/IP จึงเป็นแพ็กเก็ตกลางที่พร้อมรับแพ็กเก็ตย่อยอื่นได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย เช่น อีเทอร์เน็ตในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นได้
ระบบเครือข่ายแบบ WAN
ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
ประเภทของเครือข่ายระยะไกลเครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
- เครือข่ายส่วนตัว (Private Network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดีในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น (เนื่องจากข้อกำหนดของประเทศต่างๆ โดยปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้วางเครือข่ายเองได้) การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะและหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย รวมทั้งอาจไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
- เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network) เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Added Network) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะจะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่าง LAN และ WAN
Lan หรือ Local Area Network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือใช้เชื่อมต่อกันในบริเวณที่ไม่ห่างจากกันมากนัก โดยการ เชื่อมต่อนี้ทำได้โดยสายสัญญาณพิเศษ ในสถานที่หนึ่ง ๆ หรือองค์กรหนึ่ง ๆ สามารถที่จะสร้างระบบ Lan หลาย ๆ ชุดได้หรือเชื่อม ระบบ Lan แต่ละชุดที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันอีกทีก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้ง การ์ดเน็ตเวิร์คหรือเรียกย่อ ๆ ว่า Card lan สื่อสัญญาณซึ่งอาจ เป็นสายเคเบิลแบบใดแบหนึ่ง ระบบปฏิบัติการควบคุมเครือข่าย เช่น Novell Banyan VINEs Windows NT Server เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงใยกันในระบบเครือข่าย LAN จะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ การ์ด Lan หรือ Network Interface Card (NIC) อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้ในเครือข่ายเสมือนกับที่โมเด็มเป็นอุปกรณ์ช่วย ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ที่แตกต่างกันคือ การ์ด Land นี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 10 หรือ 100 เมกะบิตต่อวินาที เร็วกว่าที่ส่งผ่านโมเด็มประมาณ 500 - 2-3 พันเท่า โดยมีสัญญาณแบบพิเศษเป็นตัวกลางสายดังกล่าว เช่น Coaxial (สาย Lan ที่เห็นเป็นสีดำ) สาย Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสง สาย Unshield Twisted Pair (UTP) คล้าย ๆ โทรศัพท์ธรรมดา แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นต้น การ์ด Lan แต่ละการ์ดที่ออกจาก โรงงานจะต้องมีหมายเลขอ้างอิงโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน เพื่อใช้อ้างถึงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ด้วยกันเป็นเครือข่ายให้ สามารถติดต่อกันได ้ ในกรณีที่มีระบบเครือข่าย Lan ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปที่อยู่ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือ ข่ายที่อยู่ไกลมาก จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และบริการพิเศษเพื่อช่วยในการเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครือข่ายระยะไกลหรือ เครือข่ายแบบ Wan หรือ Wide Area Network ในการเชื่อมกันนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เชื่อมผ่านสายที่เช่ามาเป็นพิเศษ (Leased Line ) จากองค์การโทรศัพท์ เชื่อมผ่านระบบไมโครเวฟ เชื่อมผ่านเครือข่ายบริการ ISDN ของการสื่อสาร ฯ หรือแม้แต่ ผ่านดาวเทียม เป็นต้น อุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยเชื่อม LAN เข้าด้วยกันให้กลายเป็น Wan นี้เรียกว่าประตูเชื่อมต่อ หรือ Gateway ซึ่งจะทำให้ระบบเครือข่ายขยายตัวได้อย่างไม่สิ้นสุด จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน เดี่ยว ๆ หลายเครื่องถูกเชื่อมต่อกันกลายเป็นเครือข่าย Lan เมื่อมีเครือข่าย Lan หลาย ๆ ระบบแยกกัน ก็ถูกเชื่อมโยงกันกลายเป็นเครือข่ายแบบ Wan โดยหลักการแล้วเครือข่าย Wan จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนคือ
1. ส่วนแรก ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อม Lan เข้าด้วยกัน เช่น Bridge หรือ Router
2. ส่วนที่สอง คืออุปกรณ์ช่วยในการต่อเข้าสู่เครือข่าย Wan เป็นตัว Gateway เช่น โมเด็มในกรณีใช้บริการผ่านบริการผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์หรือ Terminal Adapter ในกรณีใช้บริการ ISDN
3. ส่วนที่สาม ได้แก่ สื่อสัญญาณหรือ Media เช่น สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ฯลฯ
4. ส่วนที่สี่ คือ ส่วนของการบริการ Wan หมายถึง เครือข่ายของผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ เช่น องค์กรโทรศัพท์ หรือการสื่อสาร (รวมทั้งผู้รับสัมปทานจากจากทั้งสองหน่วยงาน เช่น DataNet เป็นต้น เช่น บริการเช่าพิเศษแบบที่ต่อจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบชุมสายโทรศัพท์ธรรมดา (Point to Point) เช่น Leased Line หรือ T1. บริการที่ผ่าน ระบบชุมสาย (Circuit Swith) เช่น บริการโทรศัพท์หรือบริการ ISDN, บริการที่ต้องจัดส่งข้อมูลให้เป็นแบบส่วน ๆ (Packet) โดยคิดเงินตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (Packet Swith) เช่น บริการ X.25 หรือบริการ Frame Relay
จากนั้นเครือข่าย Wan หนึ่งก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Wan ในอีกที่หนึ่งหรืออีกประเภทหนึ่งได้ ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นไป ในลักษณะ Internetworking ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นไป เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหลักการที่กลายมาเป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในที่สุด การเชื่อมโยงในลักษณะดังกล่าวระหว่างระบบที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตรฐานในการติดต่อกัน หรือเรียกว่าต้องมีระเบียบ วิธีการสื่อความหมายกัน ซึ่งเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่าโปรโตคอล (Potocol) มิฉะนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบว่ามีใครติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนดวิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการมาตรฐานในการติดต่อกันใครต้องการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ต้องไปคุยกันแบบ TCP/IP ปัจจุบันนี้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อยู่หลายล้านเครื่อง และมีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคน โดยทั้งจำนวน เครื่องและจำนวนคนต่างก็พุ่งทะยานขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
1.สามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น Harddisk , printer เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware ลงไปได้มาก2.สามรรถนำระบบเครือข่าย (Network) ไปเชื่อมหรือเป็นประตูทางผ่าน (Gateway) เพื่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ ได้ เช่น Minicomputer , Mainframe เป็นต้น3.ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Software เนื่องจากสามารถติดตั้ง Software ที่เป็นระบบเครือข่าย (Network) โดยราคาที่ติดตั้งแบบเครือข่าย (Network) นั้นจะถูกกว่าการซื้อ Software มาติดตั้งที่ Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่อง รวมทั้งเป็นการง่ายต่อการบำรุงรักษา (Maintenance ) เช่น การ Update Software ที่ทุก ๆ เครื่อง ทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก4. User สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากข้อมูลของ User สามารถนั่งทำงานที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ซึ่งก็จะสามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลของตนเองได้เสมอ5. สามารถใช้งานโปรแกรมประเภท Multiuser คือ โปรแกรมที่ใช้งานได้หลาย ๆ คนพร้อม ๆ กัน
ระบบเครือข่าย Network แต่ละแบบไม่ว่าจะเป็น ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ Wan) หรือระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ Lan) หรือระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ Man) มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะระหว่างจุดที่ต่อกันจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 10 กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า1 เมตร
2.โดยปกติทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายระดับเมือง (Man) จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 1 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่การทำงานโดยปกติของระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจะมีความเร็วระหว่าง 1-10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ถ้าใช้เทคโนโลยี เส้นใยนำแสง (Fiber optic) ในการเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดแล้ว จะทำให้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
3.เนื่องจากระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะทางการใช้งานไม่กว้างนัก ทำให้มีอัตราการของความผิดพลาดหรือ ข้อผิดพลาดต่าง ๆ น้อยกว่าระบบเครือข่ายเมือง (Man)
4.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียว แต่ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) จะมีขอบข่ายการใช้งานทั่วโลก ดังนั้นการใช้งานจะขึ้นอยู่กับองค์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย โดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (Lan) เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถติดต่อและใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะแตกต่างระบบเครือข่ายแบบอื่น ๆตรงกันที่ จำกัดการติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์อยู่ในบริเวณแคบ ๆ เท่านั้น โดยทั่วไปจะมีระยะการใช้งานไม่เกิน 2 กิโลเมตร เช่น ใช้ภายใน มหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1 - 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
โครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์
โครงสร้างของเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบ แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 แบบ คือ1. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)2. โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network )3. โครงสร้างแบบริง ( Ring Network )4. โครงสร้างแบบผสม ( Hybrid Network )
การต่อสาย LAN การต่อสายของระบบ LAN จะมีสองแบบหลักๆคือ Bus และ Star ถ้าจะต่อแบบประหยัดก็ใช้แบบ Bus เพราะไม่ต้องใช้ HUB แต่ว่าหากเครื่องในระบบมากอาจจะเกิดปัญหาจุกจิกได้ เนื่องจากสายหลุด หรือสายขาดเพียงจุดใดจุดหนึ่งก็จะทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด เราลองมาดูเลยว่าต่อยังไง
ระบบ Star เมื่อสายขาด หรือ หลุดเสียหายจะมีผลกระทบกับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น
สาย สายที่ใช้ในระบบ Bus จะเป็นสาย Coaxial คล้ายๆสายอากาศทีวี ส่วนสายในระบบ Star จะเป็นสาย UTP หรือเรียกแบบไทยๆว่าสายคู่ตีเกลียว จะมี 4 คู่ หรือนับทั้งหมดได้ 8 เส้น การต่อสายในกรณีใช้กับ HUB ดังรูป จะต่อสายแบบปกติ pin ต่อ pin ไม่มีการสลับ ส่วนการต่อแบบ Cross นั้นจะกล่าวต่อไปว่าใช้เมื่อไหร่อย่างไร การต่อแบบ Bus จะวุ่นวายกว่านิดหน่อย คือจะต้องมี T-Connector และ Terminator มาวุ่นวาย การต่อ ก็จะต่อดังรูป ให้นำ T-Connector ต่อกับการ์ด LAN ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกตัวจากนั้นเครื่อง หัว-ท้าย ให้ ปิดด้วย Terminator เพื่อให่สัญญาณวนครบตลอดทั้งระบบ Bus
ต่อแบบ 2 เครื่องโดยใช้สาย UTP การต่อแบบนี้จะใช้ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้นไม่สามารถขยายได้อีกเลยเพราะจะต้องใช้สาย UTP แบบ Cross เท่านั้น
สาย Cross สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์และสาย Network ทั่วไป ต่อ Star ใช้ HUB หลายตัว การขยาย HUB เพื่อเพิ่ม Port ให้มากขึ้นกว่าเดิม จะมีการต่ออยู่สามสี่แบบคร่าวๆ ต่อไปนี้ 1. HUB บางยี่ห้อมีตัวต่อพิเศษที่สามารถนำ HUB ยี่ห้อและรุ่นเดียวกันอีกตัวมาซ้อนทับได้เลยทันที 2. ถ้า HUB ที่มีหัว BNC (แบบที่ใช้ต่อสาย Coaxial) สามารถต่อเชื่อมกันด้วยสาย Coaxial จะได้ประหยัด Port 3. ถ้า HUB ที่ไม่มีหัว BNC จะมีช่องเสียบสาย UTP อยู่ 1 Port เขียนว่า UP-LINK ให้ใช้สาย UTP แบบธรรมดา (ไม่ใช่สาย Cross) เสียบช่อง UP-LINK และไปเสียบที่ช่องธรรมดา (ไม่ใช่ช่อง UP-LINK) ของอีก HUB 4. ถ้าไม่มีช่อง UP-LINK ให้ใช้สาย Cross ต่อระหว่าง Port ใด Port หนึ่งก็ได้ระหว่าง HUB สองตัว
อุปกรณ์ เนื่องจากการต่อLanมีหลายแบบและอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีแตกต่างกันไปแต่ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะแบบ BUS ซึ่งเป็นการต่อ Computer ทุกตัวกับ สาย Cable ตามแนวของสายCable[โดยใช้สายCoaxial] [เขาว่ากันว่าใช้ความยาวได้ถึง185 เมตร?] ข้อดีของแบบ BUS ก็คือง่าย และ ประหยัด ทีนี้ก็เริ่มเลยครับว่าต้องใช้อะไรบ้าง 1.Lan Card เท่า จำนวนComputer ที่ต้องการต่อ จะเป็นแบบ PCI[เขาว่าเร็ว] หรือ ISAก็ได้ โดยให้มีขั้วต่อแบบ BNC ด้วย [เพราะบางCardจะมีเฉพาะRJ-45 ,บางอันมีครบ3อย่างคือมี AUI ด้วย]
2. T-Connectorเท่าจำนวน Lan Card , Terminator2 อัน [ 50 ohm] สำหรับปิดเครื่องหัว-ท้าย สำหรับTerminator ถ้าฉุกเฉินจริงๆ ก็ใช้ ความต้านทาน 50 ohm1/2 wattแทนไปก่อนก็ได้ครับ
3.สาย Coaxial RG 58 ซึ่งเป็นสาย 50 ohm [พร้อม BNC Connector ] จำนวนตามที่ต้องการต่อ [สายที่ใช้กับTV ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะสาย TV เป็น สาย 75 ohm] ถ้าท่านพอจะมีความรู้ทางช่าง อยู่บ้าง จะซื้อสาย Coaxial กับ ขั้ว BNC มาต่อเองก็ได้
รูปแสดงการเชื่อมโยงระหว่างCom.ที่ขั้ว BNC
ในกรณีที่เราจะใช้ขั้วต่อที่ RJ-45 Connector ต้องใช้สาย UTP[ซึ่งเป็นสาย 100 ohm] [เห็นเขาว่ากันว่าใช้ความยาวระหว่างจุดได้ถึง 100 เมตร ?] ความหมายแต่ละขาของRJ-45 Connector วิธีการนับลำดับสาย การต่อสายเข้ากับConnector ทั้ง 2 ปลายสาย แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ [1]ต่อตรงระหว่าง Computer 2 เครื่อง[ต่อได้แค่ 2 เครื่อง?] โดยไม่มี HUB
อุปกรณ์ที่ใช้ทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. LAN Card1.1 หน้าที่ของ LAN Card เป็นการ์ดที่ทำหน้าที่รีบส่งข้อมูลผ่านสายนำสัญญาณ เช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งLAN Card อาจมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น Network Adapter Card หรือ NetworkInterface Card หรือ Ethernet Card1.2 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ LAN Card แบ่งออกเป็นชนิดตามความเร็วในการรับส่งข้อมูล ดังนี้1.2.1 LAN Card ชนิด 10 Mbps รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกกะบิตต่อวินาที1.2.2 LAN Card ชนิด 10/100 Mbps รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกกะบิตต่อวินาที และ 100 เมกกะบิตต่อวินาที1.2.3 LAN Card ชนิด 1,000 Mbps รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 1,000 เมกกะบิตต่อวินาที
2. สายนำสัญญาณสายนำสัญญาณ ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card กับ HUB สายนำสัญญาณมี 3 ชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับการนำไปใช้กับ LAN Card แต่ละชนิด ดังนี้2.1 สายนำสัญญาณชนิดโคแอกเชี่ยล (Coaxial Cable ) ลักษณะเป็นสายที่มีพื้นที่หน้าตัดกลม ภายในประกอบด้วยสายชีลล์ที่หุ้มรอบลวดนำสัญญาณอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่น สายโคแอกเชียล RG-58 มีความต้านทานภายในสาย 50 โอห์ม สามารถนำมาต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไม่เกิน 185 เมตร2.2 สายนำสัญญาณชนิดสายคู่บิดเกลียว ( Twisted Pair ) ลักษณะเป็นสายที่มีพื้นที่หน้าตัดกลม ภายในมีสายนำสัญญาณที่มีฉนวนหุ้มอยู่ 4 คู่แต่ละคู่จะบิดตีเกลียวเข้าด้วยกัน มี 2 แบบ ได้แก่2.2.1 สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนเป็นชีลล์หุ้ม (Shielded Twisted Pair ) หรือ STP2.2.2 สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair ) หรือUTP สามารถนำมาต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร
ประเภทของสาย UTP
สาย UTP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ1. สายตรง (Straight Through Cable ) คือสายคู่บิดเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card กับ HUB/Switch2. สายไขว้ ( Crossover Cable ) คือสายคู่บิดเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card 2 อันเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องติดต่อกันได้โดยไม่ต้องผ่าน HUB/Switch หรือใช้เชื่อมระหว่าง HUB 2 ตัวเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มขยายพอร์ต
เครื่องมือในการจัดทำสายนำสัญญาณประเภท UTP
1. คีมเข้าขั้วสาย (RJ45 Crimping Tool ) ใช้บีบหัวต่อสาย RJ 45 กับสายนำสัญญาณ UTP เข้าด้วยกัน2. หัวต่อสาย RJ 45 ภายในหัวต่อจะมี 8 pin เท่ากับปริมาณลวดนำสัญญาณ 8 เส้นในสาย UTP3. สาย UTP มักใช้สายUTP Cat5 จะมีลวดนำสัญญาณ 4 คู่ แต่ละคู่จะมีสีต่างกัน ดังนี้คู่ที่ 1 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-ส้มเส้นที่ 2 จะมีสีส้มคู่ที่ 2 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-น้ำเงินเส้นที่ 2 จะมีสีน้ำเงินคู่ที่ 3 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-เขียวเส้นที่ 2 จะมีสีเขียวคู่ที่ 4 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-น้ำตาลเส้นที่ 2 จะมีสีน้ำตาลขั้นตอนการเข้าขั้วสาย1. ตัดสายนำสัญญาณ UTP Cat5 ตามความยาวที่ต้องการ2. ที่ปลายสายนำสัญญาณทั้งสองด้านลอกเปลือกหุ้มสายออกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร3. ให้เรียงลวดสาย ตามสี ดังนี้สายตรง ลวดสายทั้งสองด้าน ให้เรียงเหมือนกัน ดังนี้PIN ลำดับสี ( ปลายสาย1) ลำดับสี(ปลายสาย2) 1 ขาว-ส้ม ขาว-ส้ม2 ส้ม ส้ม3 ขาว-เขียว ขาว-เขียว4 น้ำเงิน น้ำเงิน5 ขาว-น้ำเงิน ขาว-น้ำเงิน6 เขียว เขียว7 ขาว-น้ำตาล ขาว-น้ำตาล8 น้ำตาล น้ำตาล
สายไขว้ ลวดสายทั้งสองด้าน ให้เรียงต่างกัน ดังนี้PIN ลำดับสี (ปลายสาย1) ลำดับสี(ปลายสาย2) 1 ขาว-ส้ม ขาว-เขียว2 ส้ม เขียว3 ขาว-เขียว ขาว-ส้ม4 น้ำเงิน น้ำเงิน5 ขาว-น้ำเงิน ขาว-น้ำเงิน6 เขียว ส้ม7 ขาว-น้ำตาล ขาว-น้ำตาล8 น้ำตาล น้ำตาล4. ตัดลวดนำสัญญาณด้วยคีม ให้เหลือระยะห่างจากปลอก 1.2 เซนติเมตร5. นำลวดทุกเส้นสอดพร้อมกันเข้าไปในหัวต่อสาย RJ 45 จนสุดปลายลวด6. ใช้คีมบีบขั้วสายบีบหัวต่อสายให้แน่นที่สุด เพื่อให้ลวดทั้ง 8 เส้นสัมผัสอย่างสนิทกับทุก pin7. ทำเช่นเดียวกันทั้งสองปลายสาย ก็จะได้สายตรง หรือได้สายไขว้ตามต้องการ
คำเตือน1. หากเรียงลวดไม่ตรงกับสีที่กำหนด หรือสลับสี เป็นเหตุให้สายนำสัญญาณไม่สามารถรับหรือส่งข้อมูลได้2. หากบีบคีมเบา เป็นเหตุให้ลวดสายไม่สัมผัสกับ pin ครบที่ 8 pin เป็นเหตุให้สายนำสัญญาณไม่สามารถรับหรือส่งข้อมูลได้
วิธีติดตั้ง LAN Cardปัจจุบัน LAN Card ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อและหลายรุ่น ส่วนใหญ่จะเป็น LAN Card แบบ 10/100 Mbps หรือ 10/100/1000 Mbps และ LAN Card เหล่านี้จะมีเทคโนโลยีของPlug & Play ซึ่งเมื่อเสียบการ์ดลงใน Slot และเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะเรียกหาไดรเวอร์และเซ็ตอัพตัวเองจนรู้จัก LAN Card ชนิดนั้นๆ
ขั้นตอนการติดตั้ง LAN Card1. เปิดฝาครอบด้านนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ออก ให้เสียบ LAN Card ลงใน Slot บนเมนบอร์ด2. บู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์3. วินโดวส์จะแสดงหน้าต่าง Add New Hardware Wizard ให้ใส่ไดรเวอร์ลงในไดรว์ A: และคลิกเลือกที่ Automatic search for a better driver( Recommmended) แล้วคลิก Next4. วินโดวส์จะเริ่มค้นหาไดรเวอร์ และจะติดตั้งไดรเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ5. คลิก Finish6. คลิก Yes เพื่อ Restart Windows
วิธีตรวจสอบผลการติดตั้ง LAN Cardเมื่อติดตั้ง LAN Card เรียบร้อยแล้ว เราสามารถตรวจสอบผลการติดตั้ง ตามขั้นตอน ดังนี้1. ดับเบิลคลิกที่ไอคอน System ในหน้าต่าง Control panel2. ที่หน้าต่าง system properties เลือก tab Hardware และคลิกที่ device manager3. จะได้หน้าต่าง device manager คลิกที่ Network Adapter หากปรากฏชื่อการ์ดนั้น และไม่มีเครื่องหมาย ! สีเหลือง หรือเครื่องหมาย ? สีเหลืองแล้ว แสดงว่าการติดตั้ง LAN Card ถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ






2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN


3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ 1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN) เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย



เครือข่ายระดับเมือง (MAN)เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม





ประโยชน์ของระบบเครื่อข่ายคอมพิเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเต อร์ทุกเครื่'อง
การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่นเอง ง สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที



ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
ประโยชน์ของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าเป็นระบบเครือข่าย สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยการทำงานแบบกลุ่มร่วมงาน (Workgroup) เพื่อสนับสนุนการทำงานให้สำเร็จสมบูรณ์รวดเร็ว เช่น งานทำหนังสือ ต้องมีแผนกเรียงพิมพ์ แผนกวาดภาพ แผนกครวจพิสูจน์อักษร แผนกจัดรูปเล่ม การใช้คอมพิวเตอร์แบบกลุ่มร่วมงานจะทำให้ทุกๆ แผนกประสานงานกันได้อย่างรวดเร็ว และงานมีคุณภาพดี








2. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน หมายความว่า ในระบบเครือข่ายเราสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาแบ่งปันกันใช้งาน หรือใช้งานร่วมกันได้ โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้อุปกรณ์นั้นๆ ได้โดยตรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย








3. การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง หมายถึง การที่เรามีข้อมูลอยู่ 1 ชุด อาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานบริษัท เป็นต้น ถึงแม้จะเป็นข้อมูลส่วนกลางของแผนกอื่นๆ ก็เก็บไว้ส่วนกลางชุดเดียว แล้วเครื่องในระบบเครือข่ายสามารถเอาข้อมูลมาเก็บไว้ในส่วนกลางได้ หรือเราสามารถดึงจากส่วนกลางมาใช้ได้ เราไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้หลายๆ ที่ จะได้ไม่สิ้นเปลืองหน่วยเก็บข้อมูล










4. การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการส่งข้อความผ่านเครือข่ายโดยไม่ต้องใช้กระดาษ ข้อความที่ส่งไปจะผ่านตามสายเคเบิลหรือสื่อส่งข้อมูลอื่นไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับโดยไม่หล่นหายหรือขาดตกบกพร่อง มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย









ความหมายและความสำคัญของระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)
ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
ความหมายและความสำคัญของระบบเครือข่าย
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับการ ใช้งานอย่าง แพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร ์เหล่านั้นถึงกับเพื่อ เพิ่มขีด ความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการ ใช้งาน ด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการ แบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจน สามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นคือ การโอนย้ายข้อมูล ระหว่างกัน และ การ เชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการ นำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือกา รนำข้อมูลไป ใช้ประมวล ผลในลักษณะแบ่ งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ด ดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถ จัดหา ให้ทุก คน ได้ การเชื่อม ต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งาน ให้ กว้าง ขวาง และมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อม ต่อระหว่าง เครื่อง ไมโคร คอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้การทำงาน เฉพาะมีขอบเขต กว้างขวางยิ่งขึ้น มีการ ใช้เครื่องบริการ แฟ้มข้อมูล เป็นที่เก็บรวบ ควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูล กลาง มีหน่วยจัด การระบบสือสารหน่วย บริการ ใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบ สำหรับต่อเข้า ในระบบเครือข่าย เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ ข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกันซึ่งหมายถึง การให้ อุปกรณ์ทุก ชิ้นที่ต่อ อยู่บน เครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด ในลักษณะที่่ ประสานรวมกัน โดย ผู้ใช้เห็น เสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการ ในการนำเอาอุปกรณ์ต่าง ชนิด จำนวน มาก มารวม กันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์ เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้
ความสำคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ทำให้เกิดการทำงานในลักษณะกลุ่มในระหว่างเครื่อง และอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
2. เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันขึ้น โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย สามารถใช้ แฟ้มข้อมูล ชุดคำสั่ง ข่าวสารสารสนเทศต่างๆ ตลอดใช้อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ สแกนเนอร์ ซีดีรอม โมเด็ม ฯลฯ
3.ช่วยลดความซ้ำซ้อนและสามารถกำหนดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ให้กับแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้สะดวก
4. สามารถขยายอาณาเขตในการสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างไกลยิ่งขึ้นจากเครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชื่อมต่อกัน ด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องภายในหน่วยงานหรือบริษัทเล็กๆไปจนถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ นับล้านๆเครื่องทั่วโลกครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศที่รู้จักกันดีคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ ที่สุดในโลก
ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร (Computer Network) คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สองเครื่อง ขึ้นไป ที่เป็นอิสระต่อกัน นำมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องในเครือข่ายนั้น สามารถติดต่อกันหรือทำการแลกเปลี่ยน ข้อมูลกันใน เครือข่ายได้ ซึ่งในการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลกันภายในเครือข่ายนั้น จะต้อง อาศัยช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ และก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้แบบ ใด เช่น อาจจะใ ช้สายเคเบิล สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า คลื่นวิทยุ แสงอินฟราเรด หรือสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สูตรและวิธีการทำขนมลูกชุบและขนมฝอยทอง










สตูรขนมลูกชุบ




เครื่องปรุง + ส่วนผสม


* ถั่วเขียว 450 กรัม



* น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)



* น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับทำน้ำวุ้น)



* วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ



* น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำวุ้น)



* สีผสมอาหาร (อย่างน้อยแม่สี 3 สี : สีแดง, สีเหลืองและน้ำเงิน), จานสีและพู่กัน



* น้ำกะทิ 400 กรัม

* ไม้จิ้มฟัน (สำหรับเสียบถั่วที่ปั้นแล้วเพื่อแต่งสีและจิ้มลงในน้ำวุ้น)



* โฟม (สำหรับเสียบถั่วปั้นระหว่างการทำ ถ้าวางบนพื้นจะเสียทรง)




วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน



1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)



2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี



3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)



4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ (ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ) เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ ควรปั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ถั่วที่ปั้นเสร็จแล้วควรห่อไว้ด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ



5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการ แล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง หรือตามแต่ความชอบ



6. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า, ผงวุ้นและน้ำตาล ลงในหม้อ นำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอ รอจนส่วนผสมเดือด ช้อนฟองที่ลอยหน้าออก จึงหรี่ไฟลง



7. นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้น ควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้ง ระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็ง ถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น



8. นำลูกชุบออกจากไม้ิจิ้มฟัน ตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกร จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆได้ทันที





สูตรขนมหวานไทย : ฝอยทอง


เครื่องปรุง + ส่วนผสม


* ไข่เป็ด 5 ฟอง


* น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง (หรือน้ำเปล่า)


* ไข่ไก่ 5 ฟอง


* น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง


* ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ(ไข่ขาวส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน)


* น้ำมันพืช 1 ช้อนชา


* กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง (สำหรับโรยไข่ในกระทะ)


* ไม้แหลม (สำหรับตักและพับฝอยทองในกระทะ)



วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. ต่อยไข่ไก่และไข่เป็ด เลือกเอาเฉพาะไข่แดง นำออกมากรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก
2. ผสมไข่แดง, ไข่น้ำค้างและน้ำมันพืชเข้าด้วยกัน คนจนผสมกันทั่ว


3. นำน้ำลอยดอกมะลิผสมกับน้ำตาลในกระทะทองเหลืองและนำไปตั้งไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือด
4. นำส่วนผสมไข่แดงใส่ลงไปในกรวยและนำไปโรยในน้ำเชื่อมที่เดือด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีจนไข่สุกจึงใช้ไม้แหลม สอยขึ้นและพับให้เป็นแพตามต้องการ

5. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างทางเล่นในวันสบายๆ