วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่ายแต่ละแบบ

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายแบบ LAN MAN และ WAN มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีระยะห่างจากจุดต่อจุดจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 2
กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร
2. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความเร็วระหว่าง 1–100 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่ระบบเครือข่ายแบบ MAN จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที
3. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีอัตราข้อผิดพลาดต่ำกว่าระบบเครือข่ายแบบ WAN ทั้งนี้เนื่องจากมีระยะทางในการใช้งานไม่กว้างนัก ทำให้โอกาสที่จะถูกรบกวนสัญญาณมีน้อยกว่า
4. ระบบเครือข่ายแบบ LAN จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียว แต่ระบบ เครือข่ายแบบ WAN จะมีเครือข่ายการใช้งานทั่วโลก ดังนั้นการใช้งานจะขึ้นอยู่กับการควบคุมขององค์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย


ข้อเปรียบเทียบระหว่างเครือข่าย ATM เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย LAN- เครือข่าย LANเครือข่าย Local Area Network หรือเครือข่าย LAN มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบ connectionless ระบบ LAN ที่ใช้กันส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานของ IEEE 802 ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ประกอบด้วย Ethernet ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 10Mbps และ Token Ring ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 4 Mbps หรือ 16 Mbps มีโพรโตคอล IEEE 802 เป็นตัวกำหนด data link layer และ physical layer ใน OSI Reference Model โดยในส่วนของ data link layer จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วน MAC (Medium Access Control) และ LLC (Logical Link Control) ส่วน MAC layer จะเป็นตัวกำหนดการเข้าถึงข้อมูลการแบ่งใช้งาน (share) อุปกรณ์ร่วมกันและการเชื่อมต่อสื่อสารกันส่วน LLC layer จะช่วยในเรื่องการอินเทอร์เฟซระหว่างโปรโตคอลใน Network layer กับ โปรโตคอลต่าง ๆ ใน MAC layer หลักการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย LAN นั้นจะใช้ MAC address จะเป็นตัวกำหนดที่อยู่ต้นทางและ ปลายทางของเฟรม โดยในการกำหนด MAC address ของส่วนปลายทางนั้น เครื่องเซร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่ง broadcast packet ไปยังเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เพื่อถามถึง MAC address ของเครื่องปลายทางเมื่อเครื่อง ปลายทางแจ้ง MAC address ตอบเครื่องต้นทางกลับมาก็จะเป็นการเริ่มการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและ ปลายทางตัว Address resolution ซึ่งใช้วิธีการของ broadcast packet และการส่งถ่ายข้อมูลแบบ fast connectionless ทำให้เครือข่าย LAN ใรปนะวิมธิภาพดีสำหรับรูปแบบ teaffic ที่ไม่แน่นอน (Randomly Spaced Traffic patterns) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ทรัพยากรร่วมกันเช่นนี้ทำให้เกิดข้อเสียคือ เครื่องลูกข่ายไม่สามารถได้รับการประกันคุณภาพการส่งว่าจะได้รับ bandwidth เท่าไร ในการส่งแต่ละครั้ง- เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Networks) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครือข่าย LAN เพียงแต่ว่าเครือข่าย LAN ที่ใช้มักจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ Netware ที่ใช้มาตรฐานโพรโตคอล IPX แต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้มาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP เป็นโครงสร้างหลักของซอฟต์แวร์ต่าง ๆระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารกัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการต่อเชื่อมโยงข้ามประเทศทั่วโลกต่างจากระบบ LAN ที่จะต่อเชื่อมเฉพาะในขอบเขตบริเวณหนึ่ง ๆ เช่น เพียงชั้นเดียวของอาคารหนึ่งหรือในเขตบริษัทหนึ่ง ๆ เท่านั้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าายที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้โพรโตคอล IP (Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้หลายสิบล้านคนและมีเครื่อง คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่โยงใยข้ามประเทศแทบทุกทวีปทั่วโลก IP เป็นโพรโตคอลบนชั้น Network Layer ที่จะส่งข้อมูลระหว่างจุดต้นทางและปลายทางแบบ Connectionless ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบที่ไม่มีการรับประกัน การส่งแพ็คเก็ตระหว่างต้นทางและปลายทาง ในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนั้น IP datagram ที่ถูกส่งไปจาก host หนึ่งสามารถที่จะไปถึง host ปลายทางเดียวกันได้โดยใช้เส้นทางต่างกัน เส้นทางที่ IP datagram เดินทางไป นั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายและจะถูกควบคุมโดย router ซึ่งจะเป็นตัวเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดให้ datagram เดินทางไปโดยวิเคราะห์จากสถานภาพของ link ที่เชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันว่ามีระดับ congestion มากน้อยเพียงใด จากความไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพทำงานของ IP นี้เองทำให้ IP เป็นโพรโตคอลที่เป็นมาตรฐาน ทั่วโลกและใช้กันแพร่หลายมาก มีแอปพลิเคชั่นสนับสนุนอยู่มากมายที่สนับสนุนการทำงานของ IP เช่น Gopher, www (world-wide-web ใช้ http Protoclo), ftp (File Transfer Protocol) และ SMTP (Simple Mail Transfer Protoclo)- เครือข่าย ATM จะช่วยให้ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นมากเนื่องจากมีความเร็วในการสวิตซ์ข้อมูลสูงมากนั่น เอง ลักษณะของเครือข่าย ATM ก็เป็นสายไฟเบอร์ (Fiber Optic Cable) หรือสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 155 Mbps ขึ้นไป และจะมีอุปกรณ์หลายทาง ซึ่งอาจเป็น PC ซึ่งมี Ethernet Card อีกทีนั่นเอง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ทางการสื่อสาร เช่น ตู้สายโทรศัพท์ PAPX ซึ่งมี ATM Interface หรือระบบ Video Conference ก็ได้ กล่าวคืออุปกรณ์สือสารและคอมพิวเตอร์เกือบทุกอย่าง สามารถเชื่อมต่อกับ ATM Interface ที่ตรงตามมาตรฐานนั่นเอง แต่เนื่องจาก ATM ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อเข้ากับสวิตซ์ ATM และส่งข้อมูลโดยใช้ ATM โดยตรงเลยนั้นจึงยังมีไม่มากนักและมีราคาแพงอยู่ จึงได้มีการคิดค้นระบบ IP over ATM และ LAN Emulation ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ บนเครื่องข่ายเดิมซึ่งใช้แอปพลิเคชั่น บน IP และ Ethernet ธรรมดาบนเครือข่าย ATM ได้ หรือเป็นการจำลองเครือข่าย IP และ Ethernet ขึ้นบนเครือข่าย ATM นั่นเอง ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น