วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย




ฃส่วนประกอบของระบบเครือข่าย LAN
สำหรับส่วนประกอบของระบบเครือข่าย LAN มีดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วน คือ เซิฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสาร
1.1 เซิฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย ทำหน้าที่ให้บริการผู้ใช้ระบบเครือข่ายเซิฟเวอร์มีทรัพยากรสำหรับ ให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ร้องขอ เซิฟเวอร์ที่ใช้กันมากที่สุดคือ เซฟเวอร์ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการจัดส่งแฟ้มแก่ผู้ใช้ แฟ้มนี้อาจเป็นแฟ้มที่บันทึกเก็บข้อมูล หรือเป็นแฟ้มบรรจุซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็ได้ระบบเครือข่าย LAN จะมีไฟล์เซิฟเวอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ไฟล์เซิฟเวอร์มักเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดดิสก์ความจุสูง ซึ่งคอมพิวเตอร์นี้อาจเป็นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็ได้ ถ้าเป็นประเภทหลังมักนิยมใช้ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นที่มีความเร็วสูง ระบบเครือข่าย LAN ที่อาศัยไฟล์เซิฟเวอร์ให้บริการ แฟ้มข้อมูล ตลอดเวลาจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเป็นพิเศษสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ (dedicated file server ) แต่ในระบบเครือข่าย Lan ขนาดเล็กที่ผู้ใช้แต่ละคนมีความเสมอภาคกัน (Peer-to-Peer Network) ไม่ต้องมีไฟล์เซอร์เวอร์เพราะ คอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่อง ในระบบเป็นทั้งผู้ใช้และไฟล์เซิฟเวอร์ในเวลาเดียวกัน เซิฟเวอร์แบบอื่น ๆ ในระบบเครือข่าย LANยังมีอีก และเรียกตาม ลักษณะของ ทรัพยากรที่เซิฟเวอร์นั้นให้บริการ เช่น Print server ให้บริการการพิมพ์ database server ให้บริการด้านฐานข้อมูล
1.2 คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย LAN จะใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ กับงานประยุกต์ที่ส่งมา ให้จากไฟล์เซิฟเวอร์ โดยเป็นเครื่องที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้ผู้ใช้โดยตรง ส่วนไฟล์เซิฟเวอร์เพียงส่งแฟ้มข้อมูลมาให้เท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่ใช้ database server ซึ่งเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูลแล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ส่งไปทั้งแฟ้ม ระบบนี้เรียกว่าเป็นระบบเครือข่าย client server เมื่อไฟล์เซิฟเวอร์ส่งงานประยุกต์ให้กับคอมพิวเตอร์แล้ว โปรแกรม ประยุกต์นั้นจะเริ่มดำเนินการได้ ในระหว่างนั้นหากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการพิมพ์ผลลัพธ์ก็กระทำได้โดย สั่งพิมพ์ผลลัพธ์ ทาง เครื่อง พิมพ์ที่เชื่อมต่กับไฟล์เซิฟเวอร์หรือพิมพิทางเครื่องที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ก็ได้ ในกรณี แฟ้มข้อมูล ที่สร้างขึ้น ระหว่าง การดำเนินงานนั้น ผู้ใช้อาจบันทึกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ หรืออาจส่งไปบันทึก เก็บไว้ในไฟล์เซิฟเวอร์ได้ ในกรณีหลัง ผู้ใช้ราย อื่นอาจขอใช้แฟ้มนั้น ได้ด้วยระบบเครือข่าย LAN บางระบบนิยมใช้ชนิดไม่มีฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการ ปฏิบัติงานแต่ระบบแบบนี้อาจมีปัญหาเวลาไฟล์เซิฟเวอร์เสียหายคอมพิวเตอร์ที่เหลืออยู่จะทำงานไม่สะดวก
1.3 ระบบสื่อสาร การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วยบุคคลมาพ่วงต่อกันเป็นระบบเครือข่าย LAN นั้นจำเป็นจะ ต้องอาศัยสายเคเบิล และแผ่นวงจรที่เรียกว่า network interface card (NIC) โดยจะต้องนำแผ่นวงจรนี้ไปติดตั้ง ในเซิฟเวอร์และ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย แผ่นวงจร NIC จะทำหน้าที่คล้ายควบคุมดูแลการ ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วย ความเร็วสูง ความเร็วในการสื่อสารนั้นอยู่กับประเภทของตัวกลางสื่อสารขีดความสามารถของแผ่นวงจร NIC และตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เองความเร็วทั่วไปของการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย LAN อยู่ระหว่าง1 ถึง 16 เมกะบิตต่อวินาที
2. ซอฟแวร์ซอฟแวร์ที่ใช้กับระบบเครือข่าย Lan มี 2 ประเภทคือ
2.1 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (network operating system) เป็นซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่ทำการปฏิบัติงานของ ไฟล์เซิฟเวอร์ และช่วยให้การใช้ระบบเครือข่ายง่ายขึ้น ช่วยในการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยของระบบเครือข่าย เป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้บริหารที่จะใช้ควบคุมระบบเครือข่ายของผู้ใช้ ควบคุมการสร้างแฟ้มข้อมูล และจัดการกับจานแม่เหล็กด้วย นอกจานั้นยังควบคุมการใช้แฟ้มข้อมูลของผู้ใช้แต่ละรายให้เป็นไปตามข้อกำหนด
2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์ ได้แก่ซอฟแวร์สำหรับใช้ดำเนินการต่าง ๆ ตามความต้องการของ ผู้ใช้ซอฟแวร์เหล่านี้ควรเป็น รุ่นที่ผลิตมาสำหรับใช้ระบบเครือข่าย


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Active Directory
ความหมายของ Windows 2000 Active Directory
เป็นบริการหนึ่งของ Windows 2000 Server ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับไดเรกทอรีของระบบเครือข่าย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. Active Directory Service หน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้และผู้บริหารระบบ
2. Active Directory Database เป็นฐานข้อมูลสำหรับเก็บไดเรกทอรีต่าง ๆ เช่น User Account/Group Account, Shared folder Object, Organizational Unit (OU) ,System Configuration ,Group Policy Object (GPO)

ลักษณะโครงสร้างของ Active Directory Database
ทรัพยากรต่าง ๆ เสมือนออบเจ็กต์หนึ่งที่มีชื่อและคุณสมบัติ จัดเก็บ Object ต่าง ๆ ตามโครงสร้างลำดับชั้น โดยมี OU เสือนโฟลเดอร์ในการเก็บ Object ต่าง ๆ โครงสร้างภายในเป็นโครงสร้างเชิงลอจิคอล ทุกอย่างเป็นอิสระต่อกัน สามารถเก็บ Object มากกว่า 2 ล้านออบเจ็กต์ ออบเจ็กต์ คลาส และแอตตริบิวต์
object รายชื่อทรัพยากรทุกอย่างที่อยู่ใน Active Directory Database มองเสมือนเป็น Object
class คือตัวแบ่งประเภทของออบเจ็กต์
attributes ตัวบอกคุณลักษณะ คุณสมบัติ และพฤติกรรมต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ ออบเจ็กต์ที่อยู่ใน class เดียวกัน จะมี attributes เหมือนกัน
schema เป็นฐานข้อมูลย่อยที่เก็บอยู่ใน active directory database หน้าที่เก็บรวบรวมข้อกำหนดเกี่ยวกับ class ของออบเจ็กต์ทุก class และยังสามารถเพิ่ม attributes ใหม่ให้ class เดิมได้ด้วย
โดเมน (Domain)
คือ กลุ่มของทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย เช่น แชร์โฟลเดอร์ เครืองคอมพิวเตอร์
โหมดของโดเมน
Mixed Mode เป็นโดเมนที่ถูกสร้างหลังติดตั้ง Active Directory เพื่อให้สื่อสารกับ BDC ของ NT 4.0 ได้
Native Mode Mixed Mode ----- > Native Mode เพื่อสิ่งที่ดีกว่า เช่น การจัดรายชื่อกลุ่มซ้อนกลุ่ม(Group Nesting) , การประยุกต์ใช้รายชื่อกลุ่มพิเศษชื่อ Universal Group


การใช้งานระบบเครือข่ายนั้นประกอบด้วย จุดต่อ (Node) สำคัญ 2 ประเภท คือ แบบคอมพิวติงโหนด หรือจุดต่อ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และแบบสวิตชิงโหนด หรือจุดต่อที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านสวิตชิงโหนดและคอมพิวติงโหนดต่างๆ ไปถึงผู้รับ เมื่อผู้รับทำงานเสร็จก็จะส่งข้อมูลผ่านสวิตชิงโหนดต่างๆ กลับมายังผู้ส่ง
ส่วนประกอบของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามหน้าที่ของโหนด คือ
1. เครือข่ายส่วนย่อยของผู้ใช้ (User Subnetwork) ประกอบด้วยโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และ เทอร์มินัลคอนโทรลเลอร์ (Terminal Controller) หรือส่วนควบคุมปลายทาง ซึ่งในการทำงานระบบนี้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้ามาก เพราะต้องรอการประมวลผลจากศูนย์กลางในการใช้งาน ทำให้ปัจจุบันมีระบบที่เรียกว่า ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ขึ้นมาใช้งานแทน โดยที่มีการทำงานแบบกระจายคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เครื่องบริการ (Server) ให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูล (File Server) , บริการพิมพ์งาน (Printing Server) เป็นต้น


ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องรับบริการ (Client) จะมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของตนเอง (จะมีฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ด้วยก็ได้) เครื่องไคลเอนต์จะส่งคำของานไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แล้วนำมาเก็บไว้ในซีพียูของตนเอง แล้วทำการประมวลผล จากนั้นก็ส่งกลับไปยังแม่ข่าย ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น



2. เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnetwork) เป็นการติดต่อสื่อสารกันผ่านสายส่ง เพื่อส่งสารข้อมูลจากต้นทางไปถึงปลายทาง โดยผ่านทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
ซึ่งจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณที่ผ่านสายโทรศัพท์ได้ โหนดที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานกับเครื่องย่อยของผู้ใช้ และทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจากต้นทางไปยังปลายทางเราเรียกว่า เร้าเตอร์ (Routers)
ระบบเครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบจุดต่อจุด (Point to Point Channels) และ แบบแพร่กระจายข้อมูล (Broadcast Channels)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น