วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ของLANกับWAN

ความสัมพันธ์ระหว่าง Lan และ Wan
Lan หรือ Local Area Network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือใช้เชื่อมต่อกัน ในบริเวณที่ไม่ห่างจากกันมากนัก โดยการ เชื่อมต่อนี้ทำได้โดย สายสัญญาณพิเศษ ในสถาน ที่หนึ่ง ๆ หรือองค์กรหนึ่ง ๆ สามารถที่จะสร้างระบบ Lan หลาย ๆ ชุดได้หรือเชื่อม ระบบ Lan แต่ละชุดที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันอีกทีก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้ง การ์ด เน็ตเวิร์คหรือ เรียกย่อ ๆ ว่า Card lan สื่อสัญญาณซึ่งอาจ เป็นสายเคเบิล แบบใดแบหนึ่ง ระบบปฏิบัติ การควบคุมเครือข่าย เช่น Novell Banyan VINEs Windows NT Server เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงใยกันในระบบเครือข่าย LAN จะต้อง มีส่วน ประกอบ ที่สำคัญ คือ การ์ด Lan หรือ Network Interface Card (NIC) อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้ในเครือข่ายเสมือนกับที่โมเด็มเป็นอุปกรณ์ช่วย ให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ติดต่อส่งข้อมูลผ่านสาย โทรศัพท์ได้ ที่แตกต่างกันคือ การ์ด Land นี้เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 10 หรือ 100 เมกะบิตต่อวินาที เร็วกว่าที่ส่งผ่านโมเด็มประมาณ 500 - 2-3 พันเท่า โดยมีสัญญาณ แบบพิเศษเป็นตัวกลางสายดังกล่าว เช่น Coaxial (สาย Lan ที่เห็นเป็นสีดำ) สาย Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสง สาย Unshield Twisted Pair (UTP) คล้าย ๆ โทรศัพท์ธรรมดา แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นต้น การ์ด Lan แต่ละการ์ดที่ออกจาก โรงงานจะต้อง มีหมายเลข อ้างอิงโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน เพื่อใช้อ้างถึงระหว่างเครื่อคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ด้วย กันเป็น เครือข่ายให้ สามารถติดต่อกันได ้
ในกรณีที่มีระบบเครือข่าย Lan ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปที่อยู่ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่ใน บริเวณเดียวกัน หรือมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือ ข่ายที่อยู่ไกล มาก จำเป็นต้อง ใช้อุปกรณ์และ บริการพิเศษเพื่อช่วยในการเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครือข่ายระยะ ไกลหรือ เครือข่ายแบบ Wan หรือ Wide Area Network ในการเชื่อมกัน นี้สามารถ ทำได้หลายวิธี เช่น เชื่อมผ่าน สาย ที่เช่ามาเป็นพิเศษ (Leased Line ) จากองค์การโทรศัพท์ เชื่อมผ่าน ระบบไมโครเวฟ เชื่อมผ่านเครือข่ายบริการ ISDN ของการสื่อสาร ฯ หรือแม้แต่ ผ่านดาวเทียม เป็นต้น อุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยเชื่อม LAN เข้าด้วยกันให้กลายเป็น Wan นี้เรียกว่าประตูเชื่อมต่อ หรือ Gateway ซึ่งจะทำให้ระบบ เครือข่ายขยายตัวได้อย่างไม่สิ้นสุด
จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเดี่ยว ๆ หลายเครื่องถูกเชื่อมต่อกันกลายเป็น เครือข่าย Lan เมื่อมีเครือข่าย Lan หลาย ๆ ระบบแยกกัน ก็ถูกเชื่อมโยงกันกลายเป็นเครือข่ายแบบ Wan โดยหลักการแล้วเครือข่าย Wan จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนคือ
ส่วนแรก ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อม Lan เข้าด้วยกัน เช่น Bridge หรือ Router
ส่วนที่สอง คืออุปกรณ์ช่วยในการต่อเข้าสู่เครือข่าย Wan เป็นตัว Gateway เช่น โมเด็มในกรณีใช้บริการผ่านบริการผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์หรือ Terminal Adapter ในกรณีใช้บริการ ISDN
ส่วนที่สาม ได้แก่ สื่อสัญญาณหรือ Media เช่น สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ฯลฯ
ส่วนที่สี่ คือ ส่วนของการบริการ Wan หมายถึง เครือข่ายของผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ เช่น องค์กรโทรศัพย์ หรือการสื่อสาร (รวมทั้งผู้รับสัมปทานจากจากทั้งสองหน่วยงาน เช่น DataNet เป็นต้น เช่น บริการเช่าพิเศษแบบที่ต่อจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบชุมสายโทรศัพท์ธรรมดา (Point to Point) เช่น Leased Line หรือ T1. บริการที่ผ่าน ระบบชุมสาย (Circuit Swith) เช่น บริการโทรศัพท์หรือบริการ ISDN, บริการที่ต้องจัดส่งข้อมูลให้เป็นแบบส่วน ๆ (Packet) โดยคิดเงินตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (Packet Swith) เช่น บริการ X.25 หรือบริการ Frame Relay
จากนั้นเครือข่าย Wan หนึ่งก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Wan ในอีกที่หนึ่งหรืออีก ประเภท หนึ่งได้ ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นไป ในลักษณะ Internetworking ขยายครอบคลุมกว้าง ขึ้นไป เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหลักการที่กลาย มาเป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในที่สุด
การเชื่อมโยงในลักษณะดังกล่าวระหว่างระบบที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตร ฐาน ในกา รติดต่อ กัน หรือเรียกว่าต้องมีระเบียบ วิธีการสื่อความหมายกัน ซึ่งเรียกเป็นศัพท์เฉพาะ ว่าโปรโตคอล (Potocol) มิฉะนั้นเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกัน ก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบ ว่า มีใคร ติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนด วิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต มีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ มาตรฐานในการติดต่อ กันใครต้องการไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบ ว่า มีใคร ติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนด วิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต มีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ มาตรฐานในการติดต่อ กันใครต้องการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย อินเตอร์เนตก็ต้องไปคุยกันแบบTCP/IP ปัจจุบันนี้ในเครือข่ายอินเตอร์เนตมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อยู่หลายล้านเครื่องและมีผู้ใช้งาน หลายสิบล้านคน โดยทั้งจำนวน เครื่องและจำนวน คนต่างก็พุ่งทะยาน ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน


ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า
ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อและเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรต (Infared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น ฉะนั้น ระบบเครือข่าย Network คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาต่อเชื่อมกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ในการแบ่งชนิดของระบบเครือข่าย (Network) นั้นจะแบ่งระบบเครือข่าย (Network) เป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ1.ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)2.ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)3. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ Man)
ระบบเครือข่าย LAN และ WAN
ความหมายของระบบ LANย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ที่ต้องประกอบด้วย Server และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้โดยที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร และในส่วนของ Server เองจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้างหน่วยความจำได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมด จึงมีการแบ่งแยกเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เรียกว่า LAN (Local Area Network) และการเชื่อมโยงระยะไกล ที่เรียกว่า WAN (Wide Area Network) เครือข่าย LAN เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน สามารถดูแลได้เอง การเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบดังนี้
1. เครือข่าย LAN แบบอีเทอร์เน็ต มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 Mbps. มีพื้นฐานรูปแบบการเชื่อมโยงร่วมกันแบบบัส คือ ทุกอุปกรณ์จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว ดังนั้นการรับส่งต้องมีการจัดการไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ ขบวนการรับส่งข้อมูลจึงถูกกำหนดขึ้น โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่ การหลีกเลี่ยงการชนกันจึงกระทำได้ในเครือข่ายระยะใกล้
2. เครือข่าย LAN แบบโทเก็นริง มีความเร็ว 16 Mbps. เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดย แพ็กเก็ตข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่ง ถ้ามีแอดเดรสปลายทางเป็นของใคร อุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไป การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ
เครือข่าย LAN ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากัน แต่ทุกตัวจะมีแอดเดรสประจำ และแอดเดรสเหล่านี้จะซ้ำกันไม่ได้ โดยปกติผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายได้กำหนดแอดเดรสเหล่านี้มาให้แล้ว เพื่อจะให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างมาตรฐานกันได้นั้น มีวิธีการพัฒนาให้ระบบสามารถนำแพ็กเก็ต เฉพาะของเครือข่ายมาใส่ในแพ็กเก็ตกลางที่เชื่อมโยงระหว่างกันได้ เช่น TCP/IP ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเชื่อมเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน เครือข่ายอีเทอร์เน็ตมีแพ็กเก็ตเฉพาะเมื่อจะส่งออก ก็นำแพ็กเก็ตเฉพาะมาเปลี่ยนถ่ายลงในแพ็กเก็ต TCP/IP แล้วส่งต่อ.. แพ็กเก็ต TCP/IP จึงเป็นแพ็กเก็ตกลางที่พร้อมรับแพ็กเก็ตย่อยอื่นได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย เช่น อีเทอร์เน็ตในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นได้
ระบบเครือข่ายแบบ WAN
ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
ประเภทของเครือข่ายระยะไกลเครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
- เครือข่ายส่วนตัว (Private Network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดีในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น (เนื่องจากข้อกำหนดของประเทศต่างๆ โดยปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้วางเครือข่ายเองได้) การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะและหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย รวมทั้งอาจไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
- เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network) เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Added Network) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะจะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่าง LAN และ WAN
Lan หรือ Local Area Network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือใช้เชื่อมต่อกันในบริเวณที่ไม่ห่างจากกันมากนัก โดยการ เชื่อมต่อนี้ทำได้โดยสายสัญญาณพิเศษ ในสถานที่หนึ่ง ๆ หรือองค์กรหนึ่ง ๆ สามารถที่จะสร้างระบบ Lan หลาย ๆ ชุดได้หรือเชื่อม ระบบ Lan แต่ละชุดที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันอีกทีก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้ง การ์ดเน็ตเวิร์คหรือเรียกย่อ ๆ ว่า Card lan สื่อสัญญาณซึ่งอาจ เป็นสายเคเบิลแบบใดแบหนึ่ง ระบบปฏิบัติการควบคุมเครือข่าย เช่น Novell Banyan VINEs Windows NT Server เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงใยกันในระบบเครือข่าย LAN จะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ การ์ด Lan หรือ Network Interface Card (NIC) อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้ในเครือข่ายเสมือนกับที่โมเด็มเป็นอุปกรณ์ช่วย ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ที่แตกต่างกันคือ การ์ด Land นี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 10 หรือ 100 เมกะบิตต่อวินาที เร็วกว่าที่ส่งผ่านโมเด็มประมาณ 500 - 2-3 พันเท่า โดยมีสัญญาณแบบพิเศษเป็นตัวกลางสายดังกล่าว เช่น Coaxial (สาย Lan ที่เห็นเป็นสีดำ) สาย Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสง สาย Unshield Twisted Pair (UTP) คล้าย ๆ โทรศัพท์ธรรมดา แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นต้น การ์ด Lan แต่ละการ์ดที่ออกจาก โรงงานจะต้องมีหมายเลขอ้างอิงโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน เพื่อใช้อ้างถึงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ด้วยกันเป็นเครือข่ายให้ สามารถติดต่อกันได ้ ในกรณีที่มีระบบเครือข่าย Lan ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปที่อยู่ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือ ข่ายที่อยู่ไกลมาก จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และบริการพิเศษเพื่อช่วยในการเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครือข่ายระยะไกลหรือ เครือข่ายแบบ Wan หรือ Wide Area Network ในการเชื่อมกันนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เชื่อมผ่านสายที่เช่ามาเป็นพิเศษ (Leased Line ) จากองค์การโทรศัพท์ เชื่อมผ่านระบบไมโครเวฟ เชื่อมผ่านเครือข่ายบริการ ISDN ของการสื่อสาร ฯ หรือแม้แต่ ผ่านดาวเทียม เป็นต้น อุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยเชื่อม LAN เข้าด้วยกันให้กลายเป็น Wan นี้เรียกว่าประตูเชื่อมต่อ หรือ Gateway ซึ่งจะทำให้ระบบเครือข่ายขยายตัวได้อย่างไม่สิ้นสุด จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน เดี่ยว ๆ หลายเครื่องถูกเชื่อมต่อกันกลายเป็นเครือข่าย Lan เมื่อมีเครือข่าย Lan หลาย ๆ ระบบแยกกัน ก็ถูกเชื่อมโยงกันกลายเป็นเครือข่ายแบบ Wan โดยหลักการแล้วเครือข่าย Wan จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนคือ
1. ส่วนแรก ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อม Lan เข้าด้วยกัน เช่น Bridge หรือ Router
2. ส่วนที่สอง คืออุปกรณ์ช่วยในการต่อเข้าสู่เครือข่าย Wan เป็นตัว Gateway เช่น โมเด็มในกรณีใช้บริการผ่านบริการผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์หรือ Terminal Adapter ในกรณีใช้บริการ ISDN
3. ส่วนที่สาม ได้แก่ สื่อสัญญาณหรือ Media เช่น สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ฯลฯ
4. ส่วนที่สี่ คือ ส่วนของการบริการ Wan หมายถึง เครือข่ายของผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ เช่น องค์กรโทรศัพท์ หรือการสื่อสาร (รวมทั้งผู้รับสัมปทานจากจากทั้งสองหน่วยงาน เช่น DataNet เป็นต้น เช่น บริการเช่าพิเศษแบบที่ต่อจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบชุมสายโทรศัพท์ธรรมดา (Point to Point) เช่น Leased Line หรือ T1. บริการที่ผ่าน ระบบชุมสาย (Circuit Swith) เช่น บริการโทรศัพท์หรือบริการ ISDN, บริการที่ต้องจัดส่งข้อมูลให้เป็นแบบส่วน ๆ (Packet) โดยคิดเงินตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (Packet Swith) เช่น บริการ X.25 หรือบริการ Frame Relay
จากนั้นเครือข่าย Wan หนึ่งก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Wan ในอีกที่หนึ่งหรืออีกประเภทหนึ่งได้ ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นไป ในลักษณะ Internetworking ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นไป เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหลักการที่กลายมาเป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในที่สุด การเชื่อมโยงในลักษณะดังกล่าวระหว่างระบบที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตรฐานในการติดต่อกัน หรือเรียกว่าต้องมีระเบียบ วิธีการสื่อความหมายกัน ซึ่งเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่าโปรโตคอล (Potocol) มิฉะนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบว่ามีใครติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนดวิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการมาตรฐานในการติดต่อกันใครต้องการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ต้องไปคุยกันแบบ TCP/IP ปัจจุบันนี้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อยู่หลายล้านเครื่อง และมีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคน โดยทั้งจำนวน เครื่องและจำนวนคนต่างก็พุ่งทะยานขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
1.สามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น Harddisk , printer เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware ลงไปได้มาก2.สามรรถนำระบบเครือข่าย (Network) ไปเชื่อมหรือเป็นประตูทางผ่าน (Gateway) เพื่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ ได้ เช่น Minicomputer , Mainframe เป็นต้น3.ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Software เนื่องจากสามารถติดตั้ง Software ที่เป็นระบบเครือข่าย (Network) โดยราคาที่ติดตั้งแบบเครือข่าย (Network) นั้นจะถูกกว่าการซื้อ Software มาติดตั้งที่ Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่อง รวมทั้งเป็นการง่ายต่อการบำรุงรักษา (Maintenance ) เช่น การ Update Software ที่ทุก ๆ เครื่อง ทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก4. User สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากข้อมูลของ User สามารถนั่งทำงานที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ซึ่งก็จะสามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลของตนเองได้เสมอ5. สามารถใช้งานโปรแกรมประเภท Multiuser คือ โปรแกรมที่ใช้งานได้หลาย ๆ คนพร้อม ๆ กัน
ระบบเครือข่าย Network แต่ละแบบไม่ว่าจะเป็น ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ Wan) หรือระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ Lan) หรือระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ Man) มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะระหว่างจุดที่ต่อกันจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 10 กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า1 เมตร
2.โดยปกติทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายระดับเมือง (Man) จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 1 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่การทำงานโดยปกติของระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจะมีความเร็วระหว่าง 1-10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ถ้าใช้เทคโนโลยี เส้นใยนำแสง (Fiber optic) ในการเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดแล้ว จะทำให้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
3.เนื่องจากระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะทางการใช้งานไม่กว้างนัก ทำให้มีอัตราการของความผิดพลาดหรือ ข้อผิดพลาดต่าง ๆ น้อยกว่าระบบเครือข่ายเมือง (Man)
4.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียว แต่ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) จะมีขอบข่ายการใช้งานทั่วโลก ดังนั้นการใช้งานจะขึ้นอยู่กับองค์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย โดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (Lan) เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถติดต่อและใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะแตกต่างระบบเครือข่ายแบบอื่น ๆตรงกันที่ จำกัดการติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์อยู่ในบริเวณแคบ ๆ เท่านั้น โดยทั่วไปจะมีระยะการใช้งานไม่เกิน 2 กิโลเมตร เช่น ใช้ภายใน มหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1 - 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
โครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์
โครงสร้างของเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบ แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 แบบ คือ1. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)2. โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network )3. โครงสร้างแบบริง ( Ring Network )4. โครงสร้างแบบผสม ( Hybrid Network )
การต่อสาย LAN การต่อสายของระบบ LAN จะมีสองแบบหลักๆคือ Bus และ Star ถ้าจะต่อแบบประหยัดก็ใช้แบบ Bus เพราะไม่ต้องใช้ HUB แต่ว่าหากเครื่องในระบบมากอาจจะเกิดปัญหาจุกจิกได้ เนื่องจากสายหลุด หรือสายขาดเพียงจุดใดจุดหนึ่งก็จะทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด เราลองมาดูเลยว่าต่อยังไง
ระบบ Star เมื่อสายขาด หรือ หลุดเสียหายจะมีผลกระทบกับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น
สาย สายที่ใช้ในระบบ Bus จะเป็นสาย Coaxial คล้ายๆสายอากาศทีวี ส่วนสายในระบบ Star จะเป็นสาย UTP หรือเรียกแบบไทยๆว่าสายคู่ตีเกลียว จะมี 4 คู่ หรือนับทั้งหมดได้ 8 เส้น การต่อสายในกรณีใช้กับ HUB ดังรูป จะต่อสายแบบปกติ pin ต่อ pin ไม่มีการสลับ ส่วนการต่อแบบ Cross นั้นจะกล่าวต่อไปว่าใช้เมื่อไหร่อย่างไร การต่อแบบ Bus จะวุ่นวายกว่านิดหน่อย คือจะต้องมี T-Connector และ Terminator มาวุ่นวาย การต่อ ก็จะต่อดังรูป ให้นำ T-Connector ต่อกับการ์ด LAN ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกตัวจากนั้นเครื่อง หัว-ท้าย ให้ ปิดด้วย Terminator เพื่อให่สัญญาณวนครบตลอดทั้งระบบ Bus
ต่อแบบ 2 เครื่องโดยใช้สาย UTP การต่อแบบนี้จะใช้ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้นไม่สามารถขยายได้อีกเลยเพราะจะต้องใช้สาย UTP แบบ Cross เท่านั้น
สาย Cross สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์และสาย Network ทั่วไป ต่อ Star ใช้ HUB หลายตัว การขยาย HUB เพื่อเพิ่ม Port ให้มากขึ้นกว่าเดิม จะมีการต่ออยู่สามสี่แบบคร่าวๆ ต่อไปนี้ 1. HUB บางยี่ห้อมีตัวต่อพิเศษที่สามารถนำ HUB ยี่ห้อและรุ่นเดียวกันอีกตัวมาซ้อนทับได้เลยทันที 2. ถ้า HUB ที่มีหัว BNC (แบบที่ใช้ต่อสาย Coaxial) สามารถต่อเชื่อมกันด้วยสาย Coaxial จะได้ประหยัด Port 3. ถ้า HUB ที่ไม่มีหัว BNC จะมีช่องเสียบสาย UTP อยู่ 1 Port เขียนว่า UP-LINK ให้ใช้สาย UTP แบบธรรมดา (ไม่ใช่สาย Cross) เสียบช่อง UP-LINK และไปเสียบที่ช่องธรรมดา (ไม่ใช่ช่อง UP-LINK) ของอีก HUB 4. ถ้าไม่มีช่อง UP-LINK ให้ใช้สาย Cross ต่อระหว่าง Port ใด Port หนึ่งก็ได้ระหว่าง HUB สองตัว
อุปกรณ์ เนื่องจากการต่อLanมีหลายแบบและอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีแตกต่างกันไปแต่ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะแบบ BUS ซึ่งเป็นการต่อ Computer ทุกตัวกับ สาย Cable ตามแนวของสายCable[โดยใช้สายCoaxial] [เขาว่ากันว่าใช้ความยาวได้ถึง185 เมตร?] ข้อดีของแบบ BUS ก็คือง่าย และ ประหยัด ทีนี้ก็เริ่มเลยครับว่าต้องใช้อะไรบ้าง 1.Lan Card เท่า จำนวนComputer ที่ต้องการต่อ จะเป็นแบบ PCI[เขาว่าเร็ว] หรือ ISAก็ได้ โดยให้มีขั้วต่อแบบ BNC ด้วย [เพราะบางCardจะมีเฉพาะRJ-45 ,บางอันมีครบ3อย่างคือมี AUI ด้วย]
2. T-Connectorเท่าจำนวน Lan Card , Terminator2 อัน [ 50 ohm] สำหรับปิดเครื่องหัว-ท้าย สำหรับTerminator ถ้าฉุกเฉินจริงๆ ก็ใช้ ความต้านทาน 50 ohm1/2 wattแทนไปก่อนก็ได้ครับ
3.สาย Coaxial RG 58 ซึ่งเป็นสาย 50 ohm [พร้อม BNC Connector ] จำนวนตามที่ต้องการต่อ [สายที่ใช้กับTV ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะสาย TV เป็น สาย 75 ohm] ถ้าท่านพอจะมีความรู้ทางช่าง อยู่บ้าง จะซื้อสาย Coaxial กับ ขั้ว BNC มาต่อเองก็ได้
รูปแสดงการเชื่อมโยงระหว่างCom.ที่ขั้ว BNC
ในกรณีที่เราจะใช้ขั้วต่อที่ RJ-45 Connector ต้องใช้สาย UTP[ซึ่งเป็นสาย 100 ohm] [เห็นเขาว่ากันว่าใช้ความยาวระหว่างจุดได้ถึง 100 เมตร ?] ความหมายแต่ละขาของRJ-45 Connector วิธีการนับลำดับสาย การต่อสายเข้ากับConnector ทั้ง 2 ปลายสาย แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ [1]ต่อตรงระหว่าง Computer 2 เครื่อง[ต่อได้แค่ 2 เครื่อง?] โดยไม่มี HUB
อุปกรณ์ที่ใช้ทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. LAN Card1.1 หน้าที่ของ LAN Card เป็นการ์ดที่ทำหน้าที่รีบส่งข้อมูลผ่านสายนำสัญญาณ เช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งLAN Card อาจมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น Network Adapter Card หรือ NetworkInterface Card หรือ Ethernet Card1.2 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ LAN Card แบ่งออกเป็นชนิดตามความเร็วในการรับส่งข้อมูล ดังนี้1.2.1 LAN Card ชนิด 10 Mbps รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกกะบิตต่อวินาที1.2.2 LAN Card ชนิด 10/100 Mbps รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกกะบิตต่อวินาที และ 100 เมกกะบิตต่อวินาที1.2.3 LAN Card ชนิด 1,000 Mbps รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 1,000 เมกกะบิตต่อวินาที
2. สายนำสัญญาณสายนำสัญญาณ ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card กับ HUB สายนำสัญญาณมี 3 ชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับการนำไปใช้กับ LAN Card แต่ละชนิด ดังนี้2.1 สายนำสัญญาณชนิดโคแอกเชี่ยล (Coaxial Cable ) ลักษณะเป็นสายที่มีพื้นที่หน้าตัดกลม ภายในประกอบด้วยสายชีลล์ที่หุ้มรอบลวดนำสัญญาณอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่น สายโคแอกเชียล RG-58 มีความต้านทานภายในสาย 50 โอห์ม สามารถนำมาต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไม่เกิน 185 เมตร2.2 สายนำสัญญาณชนิดสายคู่บิดเกลียว ( Twisted Pair ) ลักษณะเป็นสายที่มีพื้นที่หน้าตัดกลม ภายในมีสายนำสัญญาณที่มีฉนวนหุ้มอยู่ 4 คู่แต่ละคู่จะบิดตีเกลียวเข้าด้วยกัน มี 2 แบบ ได้แก่2.2.1 สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนเป็นชีลล์หุ้ม (Shielded Twisted Pair ) หรือ STP2.2.2 สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair ) หรือUTP สามารถนำมาต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร
ประเภทของสาย UTP
สาย UTP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ1. สายตรง (Straight Through Cable ) คือสายคู่บิดเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card กับ HUB/Switch2. สายไขว้ ( Crossover Cable ) คือสายคู่บิดเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card 2 อันเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องติดต่อกันได้โดยไม่ต้องผ่าน HUB/Switch หรือใช้เชื่อมระหว่าง HUB 2 ตัวเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มขยายพอร์ต
เครื่องมือในการจัดทำสายนำสัญญาณประเภท UTP
1. คีมเข้าขั้วสาย (RJ45 Crimping Tool ) ใช้บีบหัวต่อสาย RJ 45 กับสายนำสัญญาณ UTP เข้าด้วยกัน2. หัวต่อสาย RJ 45 ภายในหัวต่อจะมี 8 pin เท่ากับปริมาณลวดนำสัญญาณ 8 เส้นในสาย UTP3. สาย UTP มักใช้สายUTP Cat5 จะมีลวดนำสัญญาณ 4 คู่ แต่ละคู่จะมีสีต่างกัน ดังนี้คู่ที่ 1 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-ส้มเส้นที่ 2 จะมีสีส้มคู่ที่ 2 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-น้ำเงินเส้นที่ 2 จะมีสีน้ำเงินคู่ที่ 3 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-เขียวเส้นที่ 2 จะมีสีเขียวคู่ที่ 4 มี 2 เส้น เส้นที่ 1 จะมีสี ขาว-น้ำตาลเส้นที่ 2 จะมีสีน้ำตาลขั้นตอนการเข้าขั้วสาย1. ตัดสายนำสัญญาณ UTP Cat5 ตามความยาวที่ต้องการ2. ที่ปลายสายนำสัญญาณทั้งสองด้านลอกเปลือกหุ้มสายออกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร3. ให้เรียงลวดสาย ตามสี ดังนี้สายตรง ลวดสายทั้งสองด้าน ให้เรียงเหมือนกัน ดังนี้PIN ลำดับสี ( ปลายสาย1) ลำดับสี(ปลายสาย2) 1 ขาว-ส้ม ขาว-ส้ม2 ส้ม ส้ม3 ขาว-เขียว ขาว-เขียว4 น้ำเงิน น้ำเงิน5 ขาว-น้ำเงิน ขาว-น้ำเงิน6 เขียว เขียว7 ขาว-น้ำตาล ขาว-น้ำตาล8 น้ำตาล น้ำตาล
สายไขว้ ลวดสายทั้งสองด้าน ให้เรียงต่างกัน ดังนี้PIN ลำดับสี (ปลายสาย1) ลำดับสี(ปลายสาย2) 1 ขาว-ส้ม ขาว-เขียว2 ส้ม เขียว3 ขาว-เขียว ขาว-ส้ม4 น้ำเงิน น้ำเงิน5 ขาว-น้ำเงิน ขาว-น้ำเงิน6 เขียว ส้ม7 ขาว-น้ำตาล ขาว-น้ำตาล8 น้ำตาล น้ำตาล4. ตัดลวดนำสัญญาณด้วยคีม ให้เหลือระยะห่างจากปลอก 1.2 เซนติเมตร5. นำลวดทุกเส้นสอดพร้อมกันเข้าไปในหัวต่อสาย RJ 45 จนสุดปลายลวด6. ใช้คีมบีบขั้วสายบีบหัวต่อสายให้แน่นที่สุด เพื่อให้ลวดทั้ง 8 เส้นสัมผัสอย่างสนิทกับทุก pin7. ทำเช่นเดียวกันทั้งสองปลายสาย ก็จะได้สายตรง หรือได้สายไขว้ตามต้องการ
คำเตือน1. หากเรียงลวดไม่ตรงกับสีที่กำหนด หรือสลับสี เป็นเหตุให้สายนำสัญญาณไม่สามารถรับหรือส่งข้อมูลได้2. หากบีบคีมเบา เป็นเหตุให้ลวดสายไม่สัมผัสกับ pin ครบที่ 8 pin เป็นเหตุให้สายนำสัญญาณไม่สามารถรับหรือส่งข้อมูลได้
วิธีติดตั้ง LAN Cardปัจจุบัน LAN Card ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อและหลายรุ่น ส่วนใหญ่จะเป็น LAN Card แบบ 10/100 Mbps หรือ 10/100/1000 Mbps และ LAN Card เหล่านี้จะมีเทคโนโลยีของPlug & Play ซึ่งเมื่อเสียบการ์ดลงใน Slot และเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะเรียกหาไดรเวอร์และเซ็ตอัพตัวเองจนรู้จัก LAN Card ชนิดนั้นๆ
ขั้นตอนการติดตั้ง LAN Card1. เปิดฝาครอบด้านนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ออก ให้เสียบ LAN Card ลงใน Slot บนเมนบอร์ด2. บู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์3. วินโดวส์จะแสดงหน้าต่าง Add New Hardware Wizard ให้ใส่ไดรเวอร์ลงในไดรว์ A: และคลิกเลือกที่ Automatic search for a better driver( Recommmended) แล้วคลิก Next4. วินโดวส์จะเริ่มค้นหาไดรเวอร์ และจะติดตั้งไดรเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ5. คลิก Finish6. คลิก Yes เพื่อ Restart Windows
วิธีตรวจสอบผลการติดตั้ง LAN Cardเมื่อติดตั้ง LAN Card เรียบร้อยแล้ว เราสามารถตรวจสอบผลการติดตั้ง ตามขั้นตอน ดังนี้1. ดับเบิลคลิกที่ไอคอน System ในหน้าต่าง Control panel2. ที่หน้าต่าง system properties เลือก tab Hardware และคลิกที่ device manager3. จะได้หน้าต่าง device manager คลิกที่ Network Adapter หากปรากฏชื่อการ์ดนั้น และไม่มีเครื่องหมาย ! สีเหลือง หรือเครื่องหมาย ? สีเหลืองแล้ว แสดงว่าการติดตั้ง LAN Card ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น